วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การคืนสำรองจ่าย

การคืนสำรองจ่าย (LPN) จัดทำเอกสาร 2 ส่วน ส่วนที่ 1 สำหรับส่งการเงิน (ซองเขียว) 1. ใบปะหน้า ส่วนการคืนสำรองจ่าย 2. เอกสารสำหรับเคลียร์คืนสำรองจ่าย 3. สำเนาใบ Pay-in กรณีเงินเหลือจากการใช้งานเงินสำรองจ่าย ส่วนที่ 2 สำหรับส่ง แคชเชียร์ (ซองแดง) 1. สำเนาเคลียร์คืนสำรองจ่าย ตามข้อ 1 และ 2 ของส่วนที่ 1 2. Slip Pay-in ตัวจริง ระยะเวลาการตั้งเบิก และคืน 1. ประชุมใหญ่ ทำเช็คล่วงหน้าได้ไม่เกิน 23 วัน คืนภายใน 7 วัน 2. งานอื่น ๆ ทำเช็คล่วงหน้าไม่เกิน 8 วัน คืนภายใน 7 วัน นับจากวันจัดงาน

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การรับวางบิล

การรับวางบิล สำนักงานนิติบุคคลฯ

เมื่อผู้รับเหมาเข้าดำเนินการงานบริการ หรือ ส่งมอบสินค้าตามคำสั่ง P/O แล้ว จะมีการวางบิลต้องตรวจสอบเอกสารว่ามีรายการครบตามนี้หรือไม่

งานบริการตามสัญญาจัดจ้างต่อเนื่องเช่น งาน รปภ., งานแม่บ้าน

1. Time Sheet (LPP ยกเว้น Time Sheet ของ รปภ.แต่ให้แนบใบสรุปผลงานของ งานรักษาความปลอดภัยแทน(สรุปคือสำหรับ LPP ไม่มีงานไหนที่ต้องใช้ Time Sheet เพราะงานรักษาความสะอาด LPP วางบิลข้างในสำนักงานใหญ่)

2. ใบแจ้งหนี้

3. ใบเสร็จรับเงิน หรือ ต้นฉบับใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี แต่ความจริง ต้องมี)

4. สำเนาสัญญา หน้าที่ระบุจำนวนเงิน และ ระยะเวลาของสัญญา


งานบริการตามสัญญา จัดจ้างแบบจำนวนครั้ง เช่น งานกำจัดปลวก, งานดูแลลิฟต์

1. ใบส่งงาน, ใบส่งมอบงาน, หรือใบตรวจงานเข้ารับบริการ ต้องมีลายเซ็นต์ผู้รับบริการ หรือรับมอบงานจากในที่นี้คือ ผู้จัดการอาคารชุดฯ (ผู้จัดการบริหารชุมชนฯ)ด้วย

2. ใบเสร็จรับเงิน หรือ ต้นฉบับใบกำกับภาษี (ถ้ามี แต่ความจริง.......ต้องมี เหมือนกัลล์)

3. สำเนาสัญญา หน้าที่ระบุ ช่วงเวลาที่จัดจ้าง, มูลค่าสัญญา, เงื่อนไขการชำระเงิน

4. ใบแจ้งหนี้ (สั้น ๆ แค่นี้แล่ะ)

5. สำเนาบัตรประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)


งานบริการตามมติคณะกรรมการ หรือ กรณี เปิด PR/PO

ดูข้อ (1.), (2.), (4.), (5) และ ต้องมีใบ PO ด้วยครับ (อันนี้สำคัญมากต้องมี)

ผู้จัดการฯ อย่าลืม เซ็นต์ในใบ PO ต้องจำนวนเงินด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

PR/PO

ก่อนส่ง PR หรือขอจัดซื้อ/จัดจ้าง งานบริการ ให้ผู้จัดการฝ่ายลงนาม ให้พิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ก่อน

1. มีการเปรียบเทียบเสนอราคา โดย ฝ่ายจัดซื้อ
2. มีรายงานการมติอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ
3. หากไม่มีข้อ 2. ต้องมี ใบอนุมัติจากคณะกรรมการโดยต้องผ่านมติอนุมัติ
4. การ์ดงบประมาณ หรือ การ์ดคุมการใช้งบประมาณ
5. ใบเสนอราคา
6. ใบ PR

ตรวจสอบและมีการลงนามจากผู้จัดการชุมชนทุกใบก่อนส่งฝ่ายครับ ม่ายงั้นโดนตีเอกสารกลับ ช้าอีก

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การตั้งเบิกเงินสดย่อย

เงินสดย่อยหรือวงเงินสดย่อยแต่ละที่จะถูกกำหนดให้ถือเงินสดย่อยไม่เท่ากัน

โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 10,000 บาท และใช้ได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท

และเงินสดย่อยต้องมีไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของวงเงินสดย่อยที่ถืออยู่

แปลว่า

หากถือเงินสดย่อย 10,000 บาท ต้องมีเงินสดในมือ 3,333 เป็นอย่างน้อยอยู่ในมือ ห้ามต่ำกว่านี้

โดยในปัจจุบัน จะกำหนดรอบการเบิกเงินสดย่อยดังนี้

  1. ตั้งตามรอบระยะเวลา คือ นับแต่วันที่เริ่มใช้เงินในรอบนั้น เช่นรอบที่ 1/2552-2553 ถูกใช้วันที่ 1 มกราคม 2553 ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 15 มกราคม ทางผู้รับผิดชอบ คือ เจ้าหน้าที่ธุรการ-การเงิน หรือผู้จัดการ ต้องทำเบิกเงินสดย่อย
  2. ตั้งตามจำนวนเงิน เช่น กำหนดให้มีการใช้เงิน ที่ 25 % จึงทำการเบิก เช่นถือเงินสดย่อย 10,000 บาท หากมีการใช้เงินไปแล้วของรอบนั้น 2,500 บาท ก็ให้ตั้งเบิกเงินสดย่อยได้เลย

จากข้อ 1 และ ข้อ 2 หากข้อใดข้อหนึ่งถึงก่อนก็ให้สามารถตั้งเบิกเงินสดย่อยได้เลย

การใช้ "บิลเงินสด" หรือที่เรียกกันว่า "บิลหัวแตก"

สามารถให้ใช้ "บิลเงินสด" หรือ "บิลหัวแตก" ได้ โดยสามารถใช้ได้ไม่เกิน 500 บาท และต้องมีชื่อร้านหรือเบอร์ติดต่อร้าน หรือ นามบัตรของร้านนั้น ๆ ในการแนบเอกสาร ต่อ 1 รอบของการเบิกเงินสดย่อย และต้องมีคณะกรรมการลงนามอนุมัติให้สามารถใช้ได้ 2 ท่าน จากจำนวนคณะกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม หรือตามที่ตกลงในที่ประชุมคณะกรรมการนั้นๆ

การเขียนในใบเบิกเงินสดย่อย หรือ Pretty Cash ชื่อผู้รับ ต้องใช้ "ชื่อร้าน / ผู้รับเงิน (จนท.นิติหรือช่าง)" และช่องผู้รับเงิน ให้ จนท.นิติฯหรือช่าง เป็นผู้ลงนาม ไม่ต้องลง "(แทน)"

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

การหักภาษี ณ ที่จ่าย


ภงด.3

  • เป็นบุคคลธรรมดาและคณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีขึ้นต้นด้วย 1 และ 2

ภงด.53

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีขึ้นต้นด้วย 3

หักอะไรบ้างและคิดกันยังไง


  • ค่าบริการ, ค่าจ้างทำของ, ซ่อมแซม หัก 3 %

  • ค่าเช่า หัก 5%

  • ค่าโฆษณา หัก 2 %

  • หากมีรายการที่ต้องหักรวมอยู่ใน ใบเสร็จเดียวกับรายการที่ไม่ถูกหัก ให้ออกใบเสร็จใหม่ โดยแยกรายการที่ถูกหักออกจากกัน


เกณฑ์การหักให้พิจารณาดังนี้


  • ค่าบริการหรือค่าจ้างทำของมีมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท แต่เป็นงานที่จ้างต่อเนื่อง หัก 3 %

  • ค่าบริการหรือค่าจ้างทำของมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป หัก 3%

รูปตัวอย่างการเขียนใบกำกับภาษี


























ถ้าหักภาษีเสร็จแล้วต้องทำอย่างไรต่อไปล่ะ

1. รับรองหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจะมีทั้งหมด 4 ใบ


2. ใบที่ 1,2 ให้กับผู้ที่ถูกหัก


3. ใบที่ 3 ส่งให้การเงิน เพื่อทำเอกสารส่ง สรรพากร


4. ใบที่ 4 แนบ เอกสารทำจ่าย จ่าย เงินสดย่อย หรือสำรองจ่าย เป็นต้น