วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

PR/PO

ก่อนส่ง PR หรือขอจัดซื้อ/จัดจ้าง งานบริการ ให้ผู้จัดการฝ่ายลงนาม ให้พิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ก่อน

1. มีการเปรียบเทียบเสนอราคา โดย ฝ่ายจัดซื้อ
2. มีรายงานการมติอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ
3. หากไม่มีข้อ 2. ต้องมี ใบอนุมัติจากคณะกรรมการโดยต้องผ่านมติอนุมัติ
4. การ์ดงบประมาณ หรือ การ์ดคุมการใช้งบประมาณ
5. ใบเสนอราคา
6. ใบ PR

ตรวจสอบและมีการลงนามจากผู้จัดการชุมชนทุกใบก่อนส่งฝ่ายครับ ม่ายงั้นโดนตีเอกสารกลับ ช้าอีก

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การตั้งเบิกเงินสดย่อย

เงินสดย่อยหรือวงเงินสดย่อยแต่ละที่จะถูกกำหนดให้ถือเงินสดย่อยไม่เท่ากัน

โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 10,000 บาท และใช้ได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท

และเงินสดย่อยต้องมีไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของวงเงินสดย่อยที่ถืออยู่

แปลว่า

หากถือเงินสดย่อย 10,000 บาท ต้องมีเงินสดในมือ 3,333 เป็นอย่างน้อยอยู่ในมือ ห้ามต่ำกว่านี้

โดยในปัจจุบัน จะกำหนดรอบการเบิกเงินสดย่อยดังนี้

  1. ตั้งตามรอบระยะเวลา คือ นับแต่วันที่เริ่มใช้เงินในรอบนั้น เช่นรอบที่ 1/2552-2553 ถูกใช้วันที่ 1 มกราคม 2553 ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 15 มกราคม ทางผู้รับผิดชอบ คือ เจ้าหน้าที่ธุรการ-การเงิน หรือผู้จัดการ ต้องทำเบิกเงินสดย่อย
  2. ตั้งตามจำนวนเงิน เช่น กำหนดให้มีการใช้เงิน ที่ 25 % จึงทำการเบิก เช่นถือเงินสดย่อย 10,000 บาท หากมีการใช้เงินไปแล้วของรอบนั้น 2,500 บาท ก็ให้ตั้งเบิกเงินสดย่อยได้เลย

จากข้อ 1 และ ข้อ 2 หากข้อใดข้อหนึ่งถึงก่อนก็ให้สามารถตั้งเบิกเงินสดย่อยได้เลย

การใช้ "บิลเงินสด" หรือที่เรียกกันว่า "บิลหัวแตก"

สามารถให้ใช้ "บิลเงินสด" หรือ "บิลหัวแตก" ได้ โดยสามารถใช้ได้ไม่เกิน 500 บาท และต้องมีชื่อร้านหรือเบอร์ติดต่อร้าน หรือ นามบัตรของร้านนั้น ๆ ในการแนบเอกสาร ต่อ 1 รอบของการเบิกเงินสดย่อย และต้องมีคณะกรรมการลงนามอนุมัติให้สามารถใช้ได้ 2 ท่าน จากจำนวนคณะกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม หรือตามที่ตกลงในที่ประชุมคณะกรรมการนั้นๆ

การเขียนในใบเบิกเงินสดย่อย หรือ Pretty Cash ชื่อผู้รับ ต้องใช้ "ชื่อร้าน / ผู้รับเงิน (จนท.นิติหรือช่าง)" และช่องผู้รับเงิน ให้ จนท.นิติฯหรือช่าง เป็นผู้ลงนาม ไม่ต้องลง "(แทน)"

การหักภาษี ณ ที่จ่าย

การหักภาษี ณ ที่จ่าย


ภงด.3

  • เป็นบุคคลธรรมดาและคณะบุคคล หรือนิติบุคคลที่เลขประจำตัวผู้เสียภาษีขึ้นต้นด้วย 1 และ 2

ภงด.53

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีขึ้นต้นด้วย 3

หักอะไรบ้างและคิดกันยังไง


  • ค่าบริการ, ค่าจ้างทำของ, ซ่อมแซม หัก 3 %

  • ค่าเช่า หัก 5%

  • ค่าโฆษณา หัก 2 %

  • หากมีรายการที่ต้องหักรวมอยู่ใน ใบเสร็จเดียวกับรายการที่ไม่ถูกหัก ให้ออกใบเสร็จใหม่ โดยแยกรายการที่ถูกหักออกจากกัน


เกณฑ์การหักให้พิจารณาดังนี้


  • ค่าบริการหรือค่าจ้างทำของมีมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท แต่เป็นงานที่จ้างต่อเนื่อง หัก 3 %

  • ค่าบริการหรือค่าจ้างทำของมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป หัก 3%

รูปตัวอย่างการเขียนใบกำกับภาษี


























ถ้าหักภาษีเสร็จแล้วต้องทำอย่างไรต่อไปล่ะ

1. รับรองหัก ภาษี ณ ที่จ่ายจะมีทั้งหมด 4 ใบ


2. ใบที่ 1,2 ให้กับผู้ที่ถูกหัก


3. ใบที่ 3 ส่งให้การเงิน เพื่อทำเอกสารส่ง สรรพากร


4. ใบที่ 4 แนบ เอกสารทำจ่าย จ่าย เงินสดย่อย หรือสำรองจ่าย เป็นต้น